วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครองการใช้และการจำหน่ายยาเสพติด

 ผลที่เกิอดจากการครอบครองและการจำหน่าย

1.1 ผลต่อตนเอง
1.2 ผลต่อครอบครัว
1.3 ผลต่อเศษฐกิจ
1.4 ผลต่อสังคม
1.5 ผลต่อประเทศชาติ

ผลที่เกิดจากใช้สิ่งเสพติด

การสูญเสียด้านบุคลิกภาพและจิตใจ 
          
เยาวชนย่อมมีบุคลิกภาพที่กำลังเจริญเติบโตมีการสร้างประสบการณ์ต่างๆ และหัดวิธีการและชั้นเชิงในการผจญปัญหาหรือกระทำการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาย่อมต้องอาศัยกระบวนการทางจิตหลายประการ เช่น ความอดกลั้น การควบคุมอารมณ์ การแสดงอารมณ์ตามความเหมาะสม การใช้ความคิดและประมาณการ  ตลอดจนการหาวิธีแก้ปัญหาให้เกิดผลดีที่สุด
          หากเยาวชนใช้และติดยาเสพติด โดยอาศัยเป็นทางหนีจากความทุกข์ยากหรือปัญหาต่างๆแล้ว บุคลิกภาพของผู้นั้นก็ย่อมหยุดเจริญ แทนที่จะหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม กลับหันไปใช้ยาแทน เยาวชนที่ติดยาจึงมีบุคลิกภาพใหม่ที่มีความอดทนน้อย ระแวง และหาความสุขจากชีวิตธรรมดาที่ไม่ใช้ยาเสพติดไม่ได้
          หากผู้นั้นได้ผ่านการรักษาหลายครั้ง  และเลิกได้ไม่นานก็ต้องกลับไปใช้อีก ความเชื่อมั่นในตนเองและความหวังว่าจะเลิกจากยาก็ค่อยๆหายไปทุกที
          หากผู้นั้นถูกจับและติดคุกหลายๆ ครั้ง ความกลัวคุกตะรางและการลงโทษต่างๆ ตลอดจนความไม่ดีในสายตาของสังคมก็ค่อยลดเสื่อมและชินชาไป  การติดคุกตะราง  หรือการถูกลงโทษทางกฎหมายกลายเป็นเรื่องเล็ก ค่านิยมของเขาก็เปลี่ยนไป  ความดีกับความชั่;ตามแนวคิดปกติก็เลือนไป ความสุขที่เกิดจากการกระทำความดีก็ถอยไป นับได้ว่าเป็นการเสื่อมสลายของสภาพจิต
          เมื่อเยาวชนคนหนึ่งคนใดติดยาเสพติด และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นนี้  ก็จะเป็นพลเมืองดีไม่ได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้  กลับเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับตนเองครอบครัวและสังคม จึงนับว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สำคัญที่สุด 

การสูญเสียทางสุขภาพอนามัย 
         
 ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพอนามัย หรือโรคต่างๆได้หลายอย่าง ได้แก่
          ๑. การใช้ยาเกินขนาด โดยที่การด้านยาเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ผู้ที่พยายามเลิกยาหรือเข้ารับการรักษา  ความด้านยาจะลดลง ประกอบกับยาที่ได้จากการลักลอบค้าไม่ได้มีการควบคุมมาตรฐาน ความแรงอาจเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ  เพราะมีการเจือปนสารชนิดอื่นเข้าไปก่อนนำออกจำหน่าย ผู้ติดยาจึงอาจใช้ยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้  ยิ่งเป็นการใช้ยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือดแล้วยิ่งมีโอกาสเกินขนาดได้มาก
          ยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทกลาง  เมื่อใช้เกินขนาดจะทำให้ไม่รู้สึกตัวไป  การหายใจลดลง และอาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ ในบางรายอาจเกิดการบวมของปอด ทำให้หายใจหอบและเสมหะเป็นฟองได้
          ๒. อาการจากการขาดยา อาการถอนยาที่เกิดขึ้นในผู้ติดยาบางคนที่ติดอย่างรุนแรงและสุขภาพไม่ดีอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดยานอนหลับ อาจเกิดอาการไข้สูง ชัก และไม่รู้สึกตัวได้
          ในบางรายอาจมีอาการถอนยาที่ปรากฏคล้ายโรคทางกาย เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเหมือนการอุดตันของลำไส้ ทำให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยวินิจฉัยผิดได้
          อาการถอนยาที่เกิดในเด็กแรกเกิด เนื่องจากมารดาติดยาเสพติด และใช้ยาในระยะก่อนคลอด จะทำให้เด็กไม่แข็งแรง หายใจน้อย และเสียชีวิตได้ง่าย
          ๓. พิษจากยาเสพติด ยาเสพติดบางชนิด เช่น แอมเฟตามีน กัญชา โคเคน และแอลเอสดี มีผลทำให้เกิดอาการทางจิตได้ บางรายอาจคลุ้มคลั่ง วิกลจริตไปเป็นระยะเวลานาน
          ยาแอมเฟตามีน  ทำให้เกิดอาการระแวงอย่างรุนแรง  คิดว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายจึงอาละวาด และทำร้ายผู้อื่นได้
          ในยาเสพติดที่ลักลอบขายกัน  อาจมีสารอื่นเจือปน  เพื่อให้ได้ปริมาณมากขึ้น เช่น สารหนู และสตริกนิน (strychnine) เป็นต้น ซึ่งเป็นยาพิษทำให้เป็นอันตรายได้
          ๔. อันตรายจากการฉีดยาที่ไม่สะอาด  ผู้ติดยาที่ใช้ยาฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ มักไม่ได้ทำความสะอาดหลอดฉีดยา ให้ปราศจากเชื้อเสียก่อนน้ำที่ใช้ละลายยาเพื่อฉีดก็ไม่สะอาด จึงอาจฉีดเอาเชื้อโรคต่างๆเข้าไปในร่างกายได้   ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง  และเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด เกิดเป็นฝีหรือเนื้อตายได้อาจลุกลามเกิดการอักเสบของหลอดเลือดหรือโลหิตเป็นพิษได้ ในบางรายเชื้อโรคอาจเข้าไปยังอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด สมอง และกระดูก ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ และฝีตามอวัยวะต่างๆ
          ผู้ที่ฉีดยาหลายคน อาจใช้เข็มฉีดยาร่วมกันทำให้โรคจากคนหนึ่งติดไปยังคนอื่นๆ ได้ เช่น โรคตับอักเสบ เป็นต้น ผู้ติดยามีอัตราการเป็นโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป และอาจเกิดการระบาดเป็นโรคทีละหลายๆ คนได้
          ๕. อันตรายจากการฉีดยาที่ไม่เหมาะสมเข้าร่างกาย ผู้ติดยาอาจใช้ยาเม็ดมาละลายน้ำ  ฉีดเข้าหลอดเลือด โดยไม่ทราบว่าในยาเม็ดมีแป้งพวกทัลคัม(talcum) อยู่ด้วย บางทีก็ใช้สำลีกรองน้ำยาก่อนจะใช้ฉีดแป้งและใยสำลีจะเข้าไปติดอยู่ตามหลอดเลือดฝอยของปอด  เกิดโรคปอดแข็งทำให้การหายใจลำบากเรื้อรังและไม่มีวิธีรักษา
          ในบางกรณียาอาจจะละลายไม่ดี มีเกล็ดหรือผลึกของยาเข้าไปในหลอดเลือด ไปอุดหลอดเลือดต่างๆ เช่น ที่สมอง เกิดเป็นอัมพาตได้
          ๖.  โรคบางชนิดที่พบร่วมกับการติดยาเสพติดผู้ติดยาเสพติด มักมีสุขภาพไม่ดี  อาหารไม่เพียงพอและการดูแลสุขภาพอนามัย  ตลอดจนการรักษาความสะอาดของร่างกายไม่ดี  จึงมีโรคต่างๆเกิดได้มาก เช่น วัณโรคของปอด โรคผิวหนังต่างๆ เป็นต้น
          มีผู้รายงานว่า  พบโรคบางชนิดร่วมกับการติดยาเสพติด โดยความสัมพันธ์และวิธีการเกิดยังไม่ได้เป็นที่เข้าใจชัดเจน เช่น โรคเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อละลายตัว (rhabdomyolysis) มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ขยับเขยื้อนลำบาก มีการสลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทำให้มีสารไมโอโกลบินเข้าไปในเลือด และขับถ่ายออกไปในปัสสาวะ (myoglobinemia, myoglobinuria) เห็นเป็นปัสสาวะสีดำ  
          โรคไตอักเสบ และโรคเส้นประสาทอักเสบ ก็พบได้ในผู้ติดยาเสพติด 


การสูญเสียทางเศรษฐกิจ 
          
๑. ค่าใช้จ่ายในการใช้ยา ผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องใช้จ่ายเงินในการซื้อยามาใช้  ยิ่งติดมากขึ้น  ยิ่งจำเป็นต้องใช้ปริมาณยามาก เพราะเกิดการด้านยาดังได้กล่าวแล้ว โดยเฉลี่ยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ผู้ที่ติดเฮโรอีนใช้เงินซื้อยาราววันละ ๕๕ บาท ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
          ผู้ที่สูบฝิ่น  หากมีฐานะไม่ค่อยดีนัก ก็จำเป็นต้องขายทรัพย์สมบัติต่างๆ  เพื่อใช้ในการสูบฝิ่น  จึงทำให้มีฐานะยากจนลง ผู้ที่ยากจนอยู่แล้วและต้องรับจ้างหาเงิน ยิ่งมีความลำบากในการยังชีพ และเลี้ยงดูครอบครัว
          หากพิจารณาการสูญเสียทั้งประเทศซึ่งมีผู้ติดยาอยู่มาก ผู้ติดยาเฮโรอีน ๑๐๐,๐๐๐ คน จะใช้ยามีมูลค่าถึงวันละ ๕.๕ ล้านบาท หรือปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท
          ๒.  การขาดงาน ผู้ติดยาเสพติดบางคน อาจสามารถปรับการใช้ยาได้ และสามารถทำงานได้ตามปกติบางคนใช้ยาขนาดน้อยๆ ในเวลาเช้าและกลางวัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการถอนยาและสามารถทำงานได้ แล้วใช้ยามากในตอนเย็นหรือกลางคืน
          ผู้ติดยาส่วนใหญ่  เมื่อติดงอมแงมแล้วจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจที่ขัดกับการทำงาน  เมื่อใช้ยามากในเวลากลางวัน ก็มีอาการซึม สะลึมสะลือ ความคิดช้า ทำงานได้ลำบาก เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็เกิดอาการถอนยา  คือ  กระวนกระวาย และปวดเมื่อยตามตัว ฤทธิ์ของยาและอาการถอนยานี้เกิดสลับกันอยู่ทั้งวัน จนไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการไปหายามาเพื่อใช้ในคราวต่อไป และหาที่ซุกซ่อนเพื่อใช้ยาสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะรบกวนและขัดขวางการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพลดลง จนอาจต้องออกจากงาน
          ๓.  ค่าใช้จ่ายในการจัดการแก้ปัญหาของรัฐและเอกชน  ทั้งในด้านการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด  การให้บริการบำบัดรักษา และการป้องกันทำให้สูญเสียงบประมาณและทรัพยากรไปไม่น้อย 



 การสูญเสียทางสังคม 
          
๑. การเสียชื่อเสียง และฐานะทางสังคมของผู้ติดยา ผู้ติดยาย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม
          ๒.  ปัญหาในครอบครัว การติดยาเสพติดทำให้คนในครอบครัวได้รับความลำบากทั้งด้านจิตใจและฐานะการเงิน มีผลให้เกิดความแตกแยกในครอบครัวได้ดังจะเห็นได้ว่าผู้ติดยามีอัตราการหย่าร้างสูง
          ๓. ปัญหาอาชญากรรม ผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อยามาใช้ ประกอบกับความอยากยารุนแรง  ทำให้ขาดการยั้งคิด จึงเกิดอาชญากรรมต่างๆ ขึ้นได้  ในชุมชนใดที่มีผู้ติดยาเสพติดอยู่ โอกาสที่จะเกิดการลักขโมยมีมากขึ้น
          นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดอาจเป็นปัญหาทางการเมืองในประเทศ หรือระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้ 


 โทษทางกฏหมายที่เกิดจากกระทำความผิดเกี่ยวกับสารเสพติด

  1. ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษ ออกเป็น 5 ประเภท ยาเสพติดให้โทษกฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์อันผิดกฎหมายผู้ใดมีไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องได้รับโทษ
                2. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฐานที่มีความผิดสูงสุด คือ ฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 คือ เฮโรอีนเพื่อจำหน่าย
                ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้ สิ่งที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสภาพสังคมอย่างหนึ่งคือ ยาเสพติด บรรดายาเสพติดทั้งหลายล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั้งสิ้น หากประเทศใดมีพลเมืองที่ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะผู้ที่ติดยาเสพติดจะเป็นบุคคลที่เสื่อมทั้งสติปัญญา และความสามารถที่จะกระทำกิจการงานใดๆ นอกจากไม่สามารถประกอบอาชีพของตนให้ก้าวหน้าแล้ว ยังเป็นภาระและเป็นปัญหาของสังคมตลอดจนประเทศชาติด้วย
                ขณะนี้นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในด้านต่างๆ ในอนาคต กำลังอยู่ในวัยที่อยากทดลองสิ่งแปลกใหม่ๆ เมื่อมีผู้ชักชวนให้เสพยาติดก็อาจจะทดลองโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจติดยาเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว จึงควรที่จะได้รู้ถึงอันตรายอันเกิดจากยาเสพติดไว้บ้าง

1. อันตรายของยาเสพติดให้โทษ
 11. ทำลายสุขภาพ ยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงทำให้สุขภาพทรุดโทรม ร่างกายซูบผอม น้ำหนักลดอ่อนเพลียไม่มีแรงในการทำงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา ถ้าเป็นนักเรียน ก็ไม่อยากเรียนหนังสือ เบื่อหน่ายในการเรียน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่เชื่อถือหรือไม่ไว้วางใจในการที่จะทำงานร่วมด้วย
               
 1.2 ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ทำให้สมองมึนชา มึนงง ขาดความว่องไวในการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าผู้ติดยาเสพติดขับขี่พาหนะ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย              
               
 1.3 เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะมีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ติดยาเสพติดก็เป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำให้โรคนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
               
 1.4 จิตใจไม่ปกติ ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีอาการอยากยา อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งเชื่องซึมบางครั้งคลุ้มครั่ง กระวนกระวาย เป็นหาทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้ง่าย เนื่องจากต้องการเงินมาใช้ในการซื้อยามาเสพ
               
นอกจากยาเสพติดที่เป็นอันตรายแล้ว ยังมีสิ่งเสพติดที่แพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างมากในปัจจุบันนี้ คือ น้ำมันระเหยหอม ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในด้านการอุตสาหกรรม แต่ถ้าสารระเหยหมอเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม โดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันแลคเกอร์ น้ำมันก๊าด กาวชนิดต่างๆ ยาทาเล็บ น้ำยาซักแห้ง น้ำมันขัดเงา ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเมาคล้ายคนเมาสุรา วิงเวียน ภาพหลอน ประสาทหลอน ถ้าสูดดมเกิดขนาดอาจหมดสติถึงตายได้ เนื่องจากฤทธิ์ของน้ำระเหยหมอจะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองทำให้หยุดหายใจ
                
เมื่อนักเรียนรู้ว่า ยาเสพติดและสิ่งเสพติดประเภทน้ำมันระเหยหอมเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทดลองและรู้จักปฏิเสธ เมื่อถูกผู้อื่นชักชวนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเองแล้วยังมีผลเสียต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ  ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่

2. ความหมายของยาเสพติดให้โทษ
                ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษผสมอยู่

3. ลักษณะของยาเสพติดให้โทษ
           
     ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ
                3.1
ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว
                3.2
มอร์ฟีน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นประมาณ 10 เท่า สกัดได้จากฝิ่นมักทำเป็นผงสีขาวหรือเท่า ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำได้ง่าย
                3.3
เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
                        1
) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
                        2
) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
                3.4
กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
                3.5
กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา   ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยาเสพติดให้โทษ ซึ่งนำมาเป็นเพียงตัวอย่างให้นักเรียนได้รับความรู้แต่เพียงย่อๆ

4. ประเทของยาเสพติดให้โทษ
                
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท คือ
                1.
ประเภทที่ 1 ป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
                2.
ประเภทที่ 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่นยา โคคาอีน โคเคอีน
                3.
ประเภทที่ 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติด ประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ด ซึ่งมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนชนิดเข้มข้นเป็น   ส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเป็นส่วนผสม ฯลฯ
                4.
ประเภทที่ 4 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 – 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

 5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
                ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น 5 ฐาน
                1.
ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                2.
ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                3.
ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                4.
ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ
                5.
ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอยู่เสมอ และมีบางคนถูกชักจูงให้ร่วมกระทำความผิดโดยความไม่รู้ และเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้จะถูกดำเนินคดี ในที่สุดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จึงขอยกตัวอย่างความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่พบเสมอและน่าสนใจดังนี้
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                1. ผู้ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
                2.
ถ้าผู้ใดบังอาจผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่ายแล้ว กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนักถึงประหารชีวิต
                3.
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
                
กรณีตัวอย่างความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครอง
                1.
ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เฮโรอีนไว้ในความครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
                2.
ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในคอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท  ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่  50,000-500,000 บาท
                3.
ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา)ไว้ในความครอบครองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
                
กรณีตัวอย่างความผิดฐานเสพติดให้โทษ
                1. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอีน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
                2.
ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                
กรณีตัวอย่างความผิดในฐานต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น จะได้รับโทษสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานความผิดและประเภทของยาเสพติด เช่น โทษฐานจำหน่ายย่อมสูงกว่าโทษเสพหรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประเภทเฮโรอีน ก็ย่อมได้รับโทษสูงกว่ามีกัญชาไว้ในครอบครอง เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ
                
1. ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
                2.
ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน
                3.
ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุดคือ เฮโรอีน
                4.
ผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนัก คือ ประหารชีวิต

สารระเหย

เป็นสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม ได้แก่ ทินเนอร์, แลคเกอร์, กาว เป็นต้น เด็กและเยาวชน จำนวนมากที่ใช้สารระเหาย ในทางที่ผิด โดยนำมาสูดดม และกิดภาวะ เสพติด เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รัฐบาลได้แก้ปัญหานี้โดยออกกฏหมายเป็นพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้สารระเหย เพื่อบำบัด ความต้องการของร่างกาย หรือจิตใจ
ร่างกายมีค่าอย่าทำลาย ด้วยสารระเหย
สารระเหย เมื่อสูดดมเข้าไปสู่ปอด จะถูกดูดซึมไปตามกระแสโลหิต สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างรวดเร็ว และ ทำลายระบบต่าง ๆ รวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น

พิษของสารระเหย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.     พิษเฉียบพลัน ภายหลังการสูดดม จะเกิดอาการ ตื่นเต้น หัวใจเต้นเร็ว ต่อมามีอาการมึนงงคล้ายคนเมาสุรา ควบคุมตนเองไม่ได้ ระคายเคือง เยื่อบุในปากและจมูก น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หมดสติ อาจกดศูนย์การหายใจทำให้ตายได้ ทั้งนี้อาการมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิด และปริฒาร ของสารระเหยที่สุดดม
2.     พิษเรื้อรัง การสูดดมติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทุกระบบเสื่อมสมรรถภาพกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้เกิดอาการไอ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยไม่มีแรง เกิดเป็นอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสาท สมองเสื่อม ประสาทหลอน ก้าวร้าว มุทะลุ พฤติกรรมและอุปนิสัยเปลี่ยน ทำลายสมองส่วนควบคุมการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด มือสั่น แขนขาสั่น เดินไม่ตรงทาง เป็นมาก มีอาการสั่นทั้งตัว นับว่าเป็นความพิการอันเกิดจากสารระเหย
วัตถุออกฤทธิ์ 

หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจ ของผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เคตามีน (ยาเค) อัลปราโซแลม ไดอะซีแพม เป็นต้น

การแบ่งประเภทของวัตถุออกฤทธิ์ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มีการจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
     
ประเภท 1  มีอันตรายร้ายแรง มีประโยชน์ในด้านการแพทย์บ้างแต่น้อยหรือไม่มีเลย เช่นเมสคาลีน จีเฮชบี ทั้งนี้ให้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกันแต่เรียกชื่ออย่างอื่น เกลือของวัตถุดังกล่าวและวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ปรุงผสมอยู่ด้วย
     ประเภท 2  มีอันตรายมาก และมีประโยชน์น้อยในด้านการแพทย์ เช่น เซโคบาร์บิตาล เฟนเตอร์มีน ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่ออื่น เกลือของวัตถุดังกล่าว และวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย
     ประเภท 3  มีอันตรายมากเช่นกัน แต่ก็มีประโยชน์ในทางการแพทย์มาก เช่น เพนโตบาร์บิตาล เมโพรบาเมท ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุที่มีชื่อทางเคมีอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่ออื่น เกลือของวัตถุดังกล่าว และวัตถุตำรับใดๆ ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 ปรุงผสมอยู่ด้วย
      ประเภท  มีอันตรายน้อย แต่ยังมีบ้าง และมีประโยชน์มากในด้านการแพทย์ เช่นไดอาซีแพม (diazepam) ฟีโนบาร์บิตาล เว้นแต่ฟีโนบาร์บิตาลที่ปรุงผสมอยู่ในตำรับยาที่มีความมุ่งหมายสำคัญ เพื่อบรรเทาอาการหอบหืด โดยมีปริมาณของฟีโนบาร์บิตาลสำหรับรับประทาน หรือสอดทางทวารหนัก ครั้งละไม่เกิน 15 มิลลิกรัม
    

2 ความคิดเห็น:

  1. Jackpot Party - Lucky Club Live Casino UK
    Jackpot Party - Free all in one place! · Experience the ultimate Jackpot Party experience. · Enjoy online slots & live games for luckyclub.live free! · Join today · Experience a real-life casino

    ตอบลบ
  2. JackpotCity Casino - Dr. Maryland
    JackpotCity Casino welcomes you with a $100 No 삼척 출장안마 Deposit Bonus + 강원도 출장샵 a 100% match 경상북도 출장샵 deposit match up to $1,000. Play 대구광역 출장샵 at 안양 출장샵 MD's JackpotCity Casino for a chance to win big

    ตอบลบ